Tuesday, October 1, 2013

Bit Torrent คืออะไร คนเล่นเน็ททุกคนควรต้องรู้ แม้ประโยชน์มหาศาล แต่ไม่ควรใช้

 

Bit Torrent เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันไฟล์ และเป็นสิ่งที่คนเล่นอินเตอร์เน็ท (ความเร็วสูง) ควรจะต้องรู้จักไว้ เพราะถือว่ามีประโยชน์มหาศาล แม้จะผิดแง่ศีลธรรมอย่างรุนแรง เพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่คนเล่นเน็ทก็สามารถหามันเจอได้ในเว็บไซด์ใต้ดิน หรือในหมู่คนเล่นเน็ท โดยเว็บไซด์ศูนย์กลางปล่อยไฟล์พวกนี้ จะเป็นเว็บใต้ดิน ไม่มีการโฆษณาโจ๋งครึ่ม แต่หากหามันเจอก็คือสวรรค์สำหรับคนเล่นเน็ทดีๆนี่เอง (แต่นรกสำหรับเจ้าของลิขสิทธิ์ไฟล์)
ผมไม่อยากสนับสนุนการใช้ bit torrent แต่จะอธิบายว่ามันคืออะไร ในวงการ bit torrent นั้นมันสามารถทำอะไรได้บ้าง? คือเราสามารถดาวโหลดสิ่งที่อยากได้ที่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ เช่น ไฟล์เพลง, ไฟล์หนัง,?ไฟล์ซีรีเกาหลี, ไฟล์หนังไฮเดฟ,?ไฟล์ดีวีดี, ซอฟแวร์ต่างๆ, E-book , รูปภาพคอลเล็กชั่น, เกมส์คอม, เกมส์คอนโซล? สรุปคือทุกอย่างที่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ สามารถหาโหลดได้จากเว็บ Bittorrent ได้ทุกอย่าง ตัวอย่างคือ หากมีเน็ทความเร็ว 6 MB สามารถดาวโหลดหนัง DVD ซักเรื่องใช้เวลาไม่ถึง 3 ชม.ก็ได้ไฟล์ สำหรับเตรียมไรท์แผ่นแล้ว
ส่วนโปรแกรมที่นิยมใช้ (เป็นตัวกลางในการติดต่อในการดาวโหลด)
www.utorrent.com
www.bitcomet.com
โปรแกรมนั้น สามารถดาวโหลดได้ฟรีจากเว็บดังกล่าว โดยการติดตั้งไม่ขอพูดถึง แต่ให้ลิ๊งไว้ >>> วิธีการติดตั้ง BitComet การใช้งานวิธีใช้กฎระเบียบของการใช้ขึ้นอยู่กับเว็บแต่ละเว็บที่มีการจัดการคล้ายๆกันไป ตรงนี้คงไม่เล่าเพราะมันมีรายละเอียดอยู่บ้าง
ผลเสียอย่างแรงสำหรับการมี Bittorrent1. เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของภาพยนต์อย่างรุนแรงเพราะมันสามารถดาวโหลดมาดูเต็มเรื่องได้ฟรีๆ (เมื่อมีแผ่นมาสเตอร์ออกจำหน่ายเมื่อไหร่ ในเว็บ bittorrent ก็จะมีมาปล่อยแจกแทบจะทันทีเช่นกัน) ทำให้ผู้ทำหนังในไทยระอากันมาก
2. เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงเช่นกัน ทั้งเพลงไทย เพลงสากล มีของจริงขายกันเมื่อไหร่ ในเว็บบิท มีให้โหลดเมื่อนั้น -_-’ แย่จริงๆ
3. เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ Software, Game เช่นกัน เพราะมันก็เอามาใช้ฟรีๆ ไม่ต้องเสียเงิน
เราทุกคนไม่ควรใช้ bittorrent เพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างรุนแรง
ผู้เขียนบทความ: www.kwamru.com สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงที่มา
- See more at: http://www.kwamru.com/21#sthash.fNA2msDE.dpuf

Saturday, July 20, 2013

การปลูกกล้วยน้ำว้า

เมื่อไม่นานมานี้ประเทศไทยได้มีการลงนามทำสัญญาการซื้อขายสินค้าเกษตรจำนวน 7 ชนิด ด้วยกันกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ กะหล่ำปลี กล้วยน้ำว้า ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เม็ดละหุ่ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมะขามเปียก
เนื่องจากพืชการเกษตรเหล่านี้ประเทศไทยเริ่มมีการขาดแคลน ด้วยพื้นที่เพาะปลูกเริ่มลดน้อยลง ประกอบกับราคาแรงงานภาคการเกษตรของไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศสาธารณรัฐประชา ธิปไตยประชาชนลาว แต่ถึงกระนั้นหากพิจารณากันถึงพื้นที่ที่สามารถนำมาเพาะปลูกได้ ประเทศไทยก็ยังมีพื้นที่อีกมากที่ยังว่างเปล่าอยู่โดยที่ไม่มีพืชใด ๆ ในพื้นที่ โดยเฉพาะภาคอีสาน ก็สามารถที่จะนำกล้วยน้ำว้า พืชที่เคยมีชื่อเสียงของไทยมานมนานนำมาปลูกและสามารถให้ผลผลิตที่คุ้มค่าโดยที่การลงทุนไม่สูงและดูแลไม่มากนัก อย่างที่ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ศรีสะเกษ มีการศึกษาปลูกกล้วยในพื้นที่ดินแบบอีสาน พบว่าสามารถทำได้และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ในการศึกษาทดลองพบว่า เบื้องต้นในการปลูกกล้วยน้ำว้านอกจากมีพื้นที่แล้วก็คือ ควรปลูกในฤดูฝน และพูนดินกลบโคนต้นให้สูงเพื่อป้องกันน้ำขัง ส่วนในฤดูอื่น ๆ  ไม่ควรพูนดินกลบโคนให้สูงนัก เพราะไม่ต้องการให้น้ำไหลออก ถ้าต้องการให้กล้วยออกปลีไปทิศทางเดียวกันก็หันรอยแผลที่เกิดจากการแยกหน่อกล้วยไปในทิศทางเดียวกัน การขยายพันธุ์ก็ใช้หน่อ  ซึ่งหน่อจะมีอยู่ 3 ชนิด คือ หน่ออ่อน เป็นหน่อที่มีอายุน้อยมาก ยังไม่มีใบ หน่อใบแคบ เป็นหน่อที่มีใบบ้าง แต่ใบเรียวเล็ก ชาวบ้านเรียกว่า หน่อดาบ และหน่อใบกว้าง เป็นหน่อที่มีใบบาง เป็นใบโตกว้างคล้ายใบจริงส่วนมากเป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้าที่อยู่ใกล้ผิวดิน หากจะเร่งการเจริญเติบโตก็ให้ใส่ปุ๋ยซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยมาก  จะช่วยให้ลำต้นอวบแข็งแรงตกเครือเร็วและได้ผลโต
การเจริญเติบโตของกล้วยมี 3  ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ต้นกล้วยตั้งตัวหลังการปลูก ระยะนี้เป็นเวลาที่ต้นกล้วยต้องการอาหารมากเครือหนึ่ง ๆ จะมีกล้วยกี่ผลนั้น อยู่ที่ความสมบูรณ์ของดินระยะนี้  ระยะที่ 2 อยู่ในระหว่างหลังตั้งตัวได้จนถึงก่อนตกเครือเล็กน้อย ระยะนี้กล้วยไม่ใช้อาหารมากอาหารต่าง ๆ  จะถูกใช้โดยหน่อที่แตกขึ้นมา ระยะที่ 3 เป็นระยะที่แก่ เป็นระยะที่กล้วยต้องการมากเหมือนกันเพื่อนำไปบำรุงผล ให้โตขึ้น
ต้นกล้วยต้องมีอาหารสำรองอยู่มาก ๆ  จึงจะสามารถให้กล้วยเครือโต ๆ ได้จากระยะการเจริญเติบโตดังกล่าว การใส่ปุ๋ยจึงควรใส่ครั้งแรก 1 อาทิตย์  หลังจากปลูก ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรกประมาณ 1 เดือน และครั้งที่ 3  ใส่หลังจากครั้งที่  2 ประมาณ 1 เดือน ปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก็ได้หรืออาจจะใช้ปุ๋ยเคมีชนิดที่ใช้กับไม้ผลทั่วไป เช่น สูตร 15-15-15, 13-13-21 เป็นต้น  โดยใส่ต้นละ 1 กิโลกรัม แบ่งใส่ 2 ครั้ง คือเมื่อกล้วยมีอายุได้ 2 เดือน และ 5 เดือน  ตามลำดับ
เมื่อปลูกกล้วยน้ำว้า ได้ประมาณ 5–6 เดือน หน่อใหม่จะเกิดขึ้นมาก่อนหน้าที่กล้วยจะตกเครือเล็กน้อยควรเลือกไว้เพียง 2 หน่อแรกก็พอ เพื่อแทนต้นแม่เดิม หน่อที่เลือกควรอยู่ตรงข้ามกันของลำต้นเดิมหน่อพวกนี้มีรากลึกและแข็งแรง   ถือว่าดีที่สุด  ส่วนหน่อที่เกิดมาทีหลังเรียกว่า หน่อตาม ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นมาจะทำให้กล้วยเครือเล็กลงจึงควรทำลาย
การกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปลูกกล้วยน้ำว้า โดยเฉพาะพืชใบแคบจะแย่งอาหารเก่ง ทำให้กล้วยได้รับอาหารไม่เต็มที่ การเจริญเติบโตจะไม่ดี  แต่ในการกำจัดวัชพืชโดยวิธีการพรวนดิน ไม่สมควรกระทำเพราะรากกล้วยมีระบบการแผ่กระจายอยู่ใกล้กับผิวดินมาก จึงควรเลี่ยงมาใช้การถากหรือถางวัชพืช ใช้วิธีการถอนจะดีที่สุด หากจะปลูกพืชแซมในระหว่างแถวกล้วย  หรือพืชคลุมดินควรเป็นพืชตระกูลถั่วเช่น ถั่วเขียว  นอกจากจะช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืชแล้วก็ยังเป็นการบำรุงดินอีกทางหนึ่งด้วย
วันนี้ประเทศไทยขาดแคลนกล้วยน้ำว้าต้องนำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฉะนั้นเรื่องตลาดจึงไม่ต้องกังวล.

ขั้นตอนการติดต่อขอใช้ไฟฟ้า

ขั้นตอนการติดต่อขอใช้ไฟฟ้า

สถานที่ติดต่อขอใช้ไฟฟ้า

ติดต่อขอแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทุกแห่ง กรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้องแล้วยื่นแบบฟอร์มที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ในท้องที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า

สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า

ต้องมีบ้านเลขที่และหรือมีสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอใช้ไฟฟ้ามาแสดง หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
  • 1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
  • 2. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอใช้ไฟฟ้า
  • 3. ในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารเอง ถ้าขอติดตั้งมิเตอร์เกินกว่า 30 แอมป์ 1 เฟส และ 3 เฟส จะต้องส่งแผนผังการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดมาตราส่วนไม่เกิน 1 : 100 รวม 2 ชุด เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบแผนผังการเดินสายนี้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะจ้างการ ไฟฟ้าฯจัดทำให้ก็ได้
  • 4. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าอาจมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้ โดยทำหนังมือมอบอำนาจซึ่งมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คน และปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจต้องนำหลักฐานตามข้อ 1-3 ของผู้รับมอบอำนาจได้แสดงพร้อมหลักฐานตามข้อ 1 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย

ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า

  • 1. เมื่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้รับคำร้องและมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อย แล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการเดินวายภายในอาคาร
  • 2. เมื่อการไฟฟ้าฯ ได้รับคำร้องและมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการเดินสายภายในอาคาร
  • 3. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้ายังไม่ได้ติดตั้งสายภายในอาคาร เมื่อติดตั้งสายภายในอาคารเรียบร้อยแล้ว ขอให้แจ้งการไฟฟ้าฯ ทราบอีกครั้ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบให้ต่อไป
  • 4. เมื่อตรวจสอบถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โปรดชำระเงินค่าธรรมเนียมที่การไฟฟ้าฯ ที่ท่านขอใช้ไฟฟ้าและโปรดรับใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหน้าที่เก็บไว้เป็นหลัก ฐานต่อไปด้วย

ค่าธรรมเนียมการขอใช้ไฟฟ้า

ในการขอใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กำหนดอัตราไว้ตามชนิดและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้งโดยสอบถามรายละเอียด ที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ได้ทุกแห่ง ดังนี้
  • 1. ค่าธรรมเนียมการต่อไฟฟ้า
  • 2. ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร
  • 3. ค่าส่วนเฉลี่ยการใช้พลังงานไฟฟ้า
  • 4. เงินประกันการใช้ไฟฟ้า
  • 5. ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังมิเตอร์ (ถ้ามี)

การชำระค่าไฟฟ้า

  • 1. การชำระค่าไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าไฟฟ้าเมื่อพนักงานเก็บเงินไปเรียกเก็บจากท่าน ถ้าไม่ได้รับชำระ พนักงานเก็บเงินจะมอบใบเตือนให้ผู้ใช้ไฟฟ้านำไปชำระที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ในเขตที่ท่านอยู่ ถ้าครบกำหนดในใบเตือนแล้วยังมิได้ชำระเงิน การไฟฟ้าฯ จะงดจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว
  • 2. ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้ามีความประสงค์จะให้การไฟฟ้าฯ เก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน ณ สถานที่อื่นที่สะดวกต่อการชำระเงินควรปฏิบัติ ดังนี้
    • 1.1 แจ้งทาง โทรศัพท์ไปที่การไฟฟ้าฯ
    • 1.2 ติดต่อด้วยตนเองที่การไฟฟ้าฯ
    • 1.3 ทำหนังสือแจ้งถึงผู้จัดการการไฟฟ้าฯ
อนึ่ง การไฟฟ้าฯ ได้เปิดบริการชำระค่าไฟฟ้าโดยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องเสียค่าบริการแต่อย่างใด ขอให้สอบถามระเบียบการได้จากสำนักงานการไฟฟ้าฯ ทุกแห่ง

การโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า

การโอนชื่ออาจมีได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  • 1. มีการซื้อขายบ้านที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้านั้น
  • 2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย
  • 3. อื่นๆ เช่น การโอนระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่า หรือผู้เช่ากับผู้เช่าช่วง เป็นต้น การโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า คู่กรณีต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มาแสดงด้วย คือ
    • 3.1 บัตรประจำตัวของผู้โอนและผู้รับโอน (ยกเว้นตามข้อ 2 ไม่ต้องแสดงบัตรประจำตัวของผู้โอน)
    • 3.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้าของผู้รับโอน
    • 3.3 สำเนาใบมรณบัตรของผู้ใช้ไฟฟ้าเดิม (ใช้สำหรับกรณีผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย)
    • 3.4 สำเนาสัญญาซื้อขาย (ใช้สำหรับกรณีที่มีการซื้อขายบ้าน)
    • 3.5 ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้ายของผู้โอน
    • 3.6 ใบเสร็จรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
    • 3.7 หลักฐานอื่นๆ ที่จำเป็น

การขอยกเลิกใช้ไฟฟ้า

หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงเพื่อขอรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืน
  • 1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
  • 2. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  • 3. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
ผู้ใช้ไฟฟ้าอาจมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้โดยทำหนังสือมอบอำนาจซึ่งมีผู้ลง นามเป็นพยาน 2 คน และปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจไปแสดงพร้อมหลักฐานตามข้อ 1 – 3 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย เมือท่านนำหลักฐานดังกล่าวไปแสดงต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องที่ของท่านและเขียนคำร้อง ขอเลิกใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฯ จะตรวจสอบหลักฐานว่าท่านยังเป็นหนี้ค่าไฟฟ้า และมีค่าภาระผูกพันอื่นๆ อยู่อีกหรือไม่แล้วจึงจะคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ท่าน

การงดจ่ายไฟฟ้า

เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าปฏิบัติผิดกฎระเบียบข้อบังคับของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฯ จะไม่จ่ายหรืองดจ่ายไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในกรณีต่อไปนี้
  • 1. การเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในหรือภายนอก ยังไม่เรียบร้อยถูกต้องตามมาตรฐาน
  • 2. ไม่ชำระเงินตามกำหนดในใบเตือน
  • 3. ยินยอมให้ผู้อื่นต่อพ่วงไฟฟ้าไปใช้สถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในคำร้องของใช้ไฟฟ้า
  • 4. การละเมิดการใช้ไฟฟ้าหรือกระทำการใดๆ ให้การไฟฟ้าฯ ได้รับความเสียหาย และไม่ยินยอมชำระค่าเบี้ยปรับและค่าเสียหายตามที่การไฟฟ้าฯ ได้ขอเรียกเก็บ
  • 5. การกระทำอันอาจจะทำให้เกิดเหตุขัดข้องหรืออาจเกิดอันตรายหรือการใช้ไฟฟ้าที่รบกวน
ผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น ในกรณีที่มีการงดจ่ายไฟฟ้า การไฟฟ้าฯ จะจ่ายไฟฟ้าให้ใหม่ ต่อเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้ชำระเงินส่วนที่ค้างหรือชำระค่าเสียหายให้แก่การ ไฟฟ้าฯ แล้ว และต้องชำระค่าธรรมเนียม รวมทั้งค่าบริการต่างๆ ตามอัตราที่การไฟฟ้าฯ กำหนดไว้ การละเมิดการใช้ไฟฟ้า เช่นการต่อไฟฟ้าตรงโดยไม่ผ่านมิเตอร์ ตลอดจนการกระทำใดๆ ที่ทำให้มิเตอร์วัดค่าผิดไปจากที่ใช้ไฟฟ้าจริง ฯลฯ จะมีความผิดต้องถูกดำเนินคดีทางแพ่งและทางอาญา ข้อหาลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ มีโทษทั้งปรับและจำคุก 

การไฟฟ้าฯ ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย ซึ่งเกิดจากไฟฟ้าขัดข้องหรือต้องหยุดจ่ายไฟฟ้า เพราะความจำเป็นหรืองดจ่ายไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น

การแจ้งกระแสไฟฟ้าขัดข้อง

เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าเกิดปัญหาในเรื่องระบบไฟฟ้าขัดข้องภายในหรือภายนอกอาคารของ ท่าน ซึ่งท่านไม่สามารถดำเนินการแก้ไขเองได้ กรุณาติดต่อได้ที่การไฟฟ้าฯ ในท้องที่ที่ท่านอยู่ ซึ่งจะมีพนักงานช่างของการไฟฟ้าฯ ประจำอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง

การตรวจสอบมิเตอร์

การไฟฟ้าฯ จะอ่านหน่วยมิเตอร์ตามระเบียบของการไฟฟ้าฯ เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดที่สงสัยว่ามิเตอร์คลาดเคลื่อนมีสิทธิที่จะร้องขอการ ไฟฟ้าฯ ทำการทดสอบมิเตอร์ดังกล่าวได้ โดยการไฟฟ้าฯ จะทดสอบติดตั้งมิเตอร์เปรียบเทียบเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือนำมิเตอร์ไปตรวจสอบที่กองมิเตอร์และจะถือผลการทดสอบมิเตอร์ที่คลาด เคลื่อนไม่เกิน ?2.5% ถือว่ามิเตอร์นั้นถูกต้อง การไฟฟ้าฯ 

จะคิดค่าใช้จ่ายในการทดสอบตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถ้าผลการทดสอบคลาดเคลื่อนแสดงค่าเกิน ?2.5% การไฟฟ้าฯ จะเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ และไม่คิดค่าทดสอบมิเตอร์ กับทั้งจะปรับปรุงเพิ่มหรือลดหนี้สินส่วนที่คลาดเคลื่อนกับไฟ้าในเดือนถัดไป

การย้ายมิเตอร์

ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้ไปแสดงต่อพนักงานไฟฟ้าในท้องที่จะขอย้าย คือ
  • 1. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  • 2. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
  • 3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
  • 4. ทะเบียนบ้านที่จะย้ายมิเตอร์ไป

การเพิ่มขนาดมิเตอร์

ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิมต้องไปแจ้งการไฟฟ้าฯ เพื่อมาตรวจสอบเพิ่มขนาดมิเตอร์โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานไปแสดงเมื่อจะ ขอเพิ่มขนาดของมิเตอร์ ดังนี้
  • 1. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  • 2. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
  • 3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
ที่มา การไฟฟ้าภูมิภาค