Tuesday, October 1, 2013

Bit Torrent คืออะไร คนเล่นเน็ททุกคนควรต้องรู้ แม้ประโยชน์มหาศาล แต่ไม่ควรใช้

 

Bit Torrent เป็นสังคมแห่งการแบ่งปันไฟล์ และเป็นสิ่งที่คนเล่นอินเตอร์เน็ท (ความเร็วสูง) ควรจะต้องรู้จักไว้ เพราะถือว่ามีประโยชน์มหาศาล แม้จะผิดแง่ศีลธรรมอย่างรุนแรง เพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่คนเล่นเน็ทก็สามารถหามันเจอได้ในเว็บไซด์ใต้ดิน หรือในหมู่คนเล่นเน็ท โดยเว็บไซด์ศูนย์กลางปล่อยไฟล์พวกนี้ จะเป็นเว็บใต้ดิน ไม่มีการโฆษณาโจ๋งครึ่ม แต่หากหามันเจอก็คือสวรรค์สำหรับคนเล่นเน็ทดีๆนี่เอง (แต่นรกสำหรับเจ้าของลิขสิทธิ์ไฟล์)
ผมไม่อยากสนับสนุนการใช้ bit torrent แต่จะอธิบายว่ามันคืออะไร ในวงการ bit torrent นั้นมันสามารถทำอะไรได้บ้าง? คือเราสามารถดาวโหลดสิ่งที่อยากได้ที่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ เช่น ไฟล์เพลง, ไฟล์หนัง,?ไฟล์ซีรีเกาหลี, ไฟล์หนังไฮเดฟ,?ไฟล์ดีวีดี, ซอฟแวร์ต่างๆ, E-book , รูปภาพคอลเล็กชั่น, เกมส์คอม, เกมส์คอนโซล? สรุปคือทุกอย่างที่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ สามารถหาโหลดได้จากเว็บ Bittorrent ได้ทุกอย่าง ตัวอย่างคือ หากมีเน็ทความเร็ว 6 MB สามารถดาวโหลดหนัง DVD ซักเรื่องใช้เวลาไม่ถึง 3 ชม.ก็ได้ไฟล์ สำหรับเตรียมไรท์แผ่นแล้ว
ส่วนโปรแกรมที่นิยมใช้ (เป็นตัวกลางในการติดต่อในการดาวโหลด)
www.utorrent.com
www.bitcomet.com
โปรแกรมนั้น สามารถดาวโหลดได้ฟรีจากเว็บดังกล่าว โดยการติดตั้งไม่ขอพูดถึง แต่ให้ลิ๊งไว้ >>> วิธีการติดตั้ง BitComet การใช้งานวิธีใช้กฎระเบียบของการใช้ขึ้นอยู่กับเว็บแต่ละเว็บที่มีการจัดการคล้ายๆกันไป ตรงนี้คงไม่เล่าเพราะมันมีรายละเอียดอยู่บ้าง
ผลเสียอย่างแรงสำหรับการมี Bittorrent1. เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของภาพยนต์อย่างรุนแรงเพราะมันสามารถดาวโหลดมาดูเต็มเรื่องได้ฟรีๆ (เมื่อมีแผ่นมาสเตอร์ออกจำหน่ายเมื่อไหร่ ในเว็บ bittorrent ก็จะมีมาปล่อยแจกแทบจะทันทีเช่นกัน) ทำให้ผู้ทำหนังในไทยระอากันมาก
2. เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงเช่นกัน ทั้งเพลงไทย เพลงสากล มีของจริงขายกันเมื่อไหร่ ในเว็บบิท มีให้โหลดเมื่อนั้น -_-’ แย่จริงๆ
3. เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ Software, Game เช่นกัน เพราะมันก็เอามาใช้ฟรีๆ ไม่ต้องเสียเงิน
เราทุกคนไม่ควรใช้ bittorrent เพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างรุนแรง
ผู้เขียนบทความ: www.kwamru.com สามารถนำไปเผยแพร่ได้โดยอ้างอิงที่มา
- See more at: http://www.kwamru.com/21#sthash.fNA2msDE.dpuf

Saturday, July 20, 2013

การปลูกกล้วยน้ำว้า

เมื่อไม่นานมานี้ประเทศไทยได้มีการลงนามทำสัญญาการซื้อขายสินค้าเกษตรจำนวน 7 ชนิด ด้วยกันกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ กะหล่ำปลี กล้วยน้ำว้า ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เม็ดละหุ่ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมะขามเปียก
เนื่องจากพืชการเกษตรเหล่านี้ประเทศไทยเริ่มมีการขาดแคลน ด้วยพื้นที่เพาะปลูกเริ่มลดน้อยลง ประกอบกับราคาแรงงานภาคการเกษตรของไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศสาธารณรัฐประชา ธิปไตยประชาชนลาว แต่ถึงกระนั้นหากพิจารณากันถึงพื้นที่ที่สามารถนำมาเพาะปลูกได้ ประเทศไทยก็ยังมีพื้นที่อีกมากที่ยังว่างเปล่าอยู่โดยที่ไม่มีพืชใด ๆ ในพื้นที่ โดยเฉพาะภาคอีสาน ก็สามารถที่จะนำกล้วยน้ำว้า พืชที่เคยมีชื่อเสียงของไทยมานมนานนำมาปลูกและสามารถให้ผลผลิตที่คุ้มค่าโดยที่การลงทุนไม่สูงและดูแลไม่มากนัก อย่างที่ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ศรีสะเกษ มีการศึกษาปลูกกล้วยในพื้นที่ดินแบบอีสาน พบว่าสามารถทำได้และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ในการศึกษาทดลองพบว่า เบื้องต้นในการปลูกกล้วยน้ำว้านอกจากมีพื้นที่แล้วก็คือ ควรปลูกในฤดูฝน และพูนดินกลบโคนต้นให้สูงเพื่อป้องกันน้ำขัง ส่วนในฤดูอื่น ๆ  ไม่ควรพูนดินกลบโคนให้สูงนัก เพราะไม่ต้องการให้น้ำไหลออก ถ้าต้องการให้กล้วยออกปลีไปทิศทางเดียวกันก็หันรอยแผลที่เกิดจากการแยกหน่อกล้วยไปในทิศทางเดียวกัน การขยายพันธุ์ก็ใช้หน่อ  ซึ่งหน่อจะมีอยู่ 3 ชนิด คือ หน่ออ่อน เป็นหน่อที่มีอายุน้อยมาก ยังไม่มีใบ หน่อใบแคบ เป็นหน่อที่มีใบบ้าง แต่ใบเรียวเล็ก ชาวบ้านเรียกว่า หน่อดาบ และหน่อใบกว้าง เป็นหน่อที่มีใบบาง เป็นใบโตกว้างคล้ายใบจริงส่วนมากเป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้าที่อยู่ใกล้ผิวดิน หากจะเร่งการเจริญเติบโตก็ให้ใส่ปุ๋ยซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยมาก  จะช่วยให้ลำต้นอวบแข็งแรงตกเครือเร็วและได้ผลโต
การเจริญเติบโตของกล้วยมี 3  ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ต้นกล้วยตั้งตัวหลังการปลูก ระยะนี้เป็นเวลาที่ต้นกล้วยต้องการอาหารมากเครือหนึ่ง ๆ จะมีกล้วยกี่ผลนั้น อยู่ที่ความสมบูรณ์ของดินระยะนี้  ระยะที่ 2 อยู่ในระหว่างหลังตั้งตัวได้จนถึงก่อนตกเครือเล็กน้อย ระยะนี้กล้วยไม่ใช้อาหารมากอาหารต่าง ๆ  จะถูกใช้โดยหน่อที่แตกขึ้นมา ระยะที่ 3 เป็นระยะที่แก่ เป็นระยะที่กล้วยต้องการมากเหมือนกันเพื่อนำไปบำรุงผล ให้โตขึ้น
ต้นกล้วยต้องมีอาหารสำรองอยู่มาก ๆ  จึงจะสามารถให้กล้วยเครือโต ๆ ได้จากระยะการเจริญเติบโตดังกล่าว การใส่ปุ๋ยจึงควรใส่ครั้งแรก 1 อาทิตย์  หลังจากปลูก ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรกประมาณ 1 เดือน และครั้งที่ 3  ใส่หลังจากครั้งที่  2 ประมาณ 1 เดือน ปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก็ได้หรืออาจจะใช้ปุ๋ยเคมีชนิดที่ใช้กับไม้ผลทั่วไป เช่น สูตร 15-15-15, 13-13-21 เป็นต้น  โดยใส่ต้นละ 1 กิโลกรัม แบ่งใส่ 2 ครั้ง คือเมื่อกล้วยมีอายุได้ 2 เดือน และ 5 เดือน  ตามลำดับ
เมื่อปลูกกล้วยน้ำว้า ได้ประมาณ 5–6 เดือน หน่อใหม่จะเกิดขึ้นมาก่อนหน้าที่กล้วยจะตกเครือเล็กน้อยควรเลือกไว้เพียง 2 หน่อแรกก็พอ เพื่อแทนต้นแม่เดิม หน่อที่เลือกควรอยู่ตรงข้ามกันของลำต้นเดิมหน่อพวกนี้มีรากลึกและแข็งแรง   ถือว่าดีที่สุด  ส่วนหน่อที่เกิดมาทีหลังเรียกว่า หน่อตาม ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นมาจะทำให้กล้วยเครือเล็กลงจึงควรทำลาย
การกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปลูกกล้วยน้ำว้า โดยเฉพาะพืชใบแคบจะแย่งอาหารเก่ง ทำให้กล้วยได้รับอาหารไม่เต็มที่ การเจริญเติบโตจะไม่ดี  แต่ในการกำจัดวัชพืชโดยวิธีการพรวนดิน ไม่สมควรกระทำเพราะรากกล้วยมีระบบการแผ่กระจายอยู่ใกล้กับผิวดินมาก จึงควรเลี่ยงมาใช้การถากหรือถางวัชพืช ใช้วิธีการถอนจะดีที่สุด หากจะปลูกพืชแซมในระหว่างแถวกล้วย  หรือพืชคลุมดินควรเป็นพืชตระกูลถั่วเช่น ถั่วเขียว  นอกจากจะช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืชแล้วก็ยังเป็นการบำรุงดินอีกทางหนึ่งด้วย
วันนี้ประเทศไทยขาดแคลนกล้วยน้ำว้าต้องนำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฉะนั้นเรื่องตลาดจึงไม่ต้องกังวล.

ขั้นตอนการติดต่อขอใช้ไฟฟ้า

ขั้นตอนการติดต่อขอใช้ไฟฟ้า

สถานที่ติดต่อขอใช้ไฟฟ้า

ติดต่อขอแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทุกแห่ง กรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้องแล้วยื่นแบบฟอร์มที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ในท้องที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า

สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า

ต้องมีบ้านเลขที่และหรือมีสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอใช้ไฟฟ้ามาแสดง หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
  • 1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
  • 2. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอใช้ไฟฟ้า
  • 3. ในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารเอง ถ้าขอติดตั้งมิเตอร์เกินกว่า 30 แอมป์ 1 เฟส และ 3 เฟส จะต้องส่งแผนผังการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดมาตราส่วนไม่เกิน 1 : 100 รวม 2 ชุด เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบแผนผังการเดินสายนี้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะจ้างการ ไฟฟ้าฯจัดทำให้ก็ได้
  • 4. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าอาจมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้ โดยทำหนังมือมอบอำนาจซึ่งมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คน และปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจต้องนำหลักฐานตามข้อ 1-3 ของผู้รับมอบอำนาจได้แสดงพร้อมหลักฐานตามข้อ 1 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย

ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า

  • 1. เมื่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้รับคำร้องและมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อย แล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการเดินวายภายในอาคาร
  • 2. เมื่อการไฟฟ้าฯ ได้รับคำร้องและมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการเดินสายภายในอาคาร
  • 3. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้ายังไม่ได้ติดตั้งสายภายในอาคาร เมื่อติดตั้งสายภายในอาคารเรียบร้อยแล้ว ขอให้แจ้งการไฟฟ้าฯ ทราบอีกครั้ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบให้ต่อไป
  • 4. เมื่อตรวจสอบถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โปรดชำระเงินค่าธรรมเนียมที่การไฟฟ้าฯ ที่ท่านขอใช้ไฟฟ้าและโปรดรับใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหน้าที่เก็บไว้เป็นหลัก ฐานต่อไปด้วย

ค่าธรรมเนียมการขอใช้ไฟฟ้า

ในการขอใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กำหนดอัตราไว้ตามชนิดและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้งโดยสอบถามรายละเอียด ที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ได้ทุกแห่ง ดังนี้
  • 1. ค่าธรรมเนียมการต่อไฟฟ้า
  • 2. ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร
  • 3. ค่าส่วนเฉลี่ยการใช้พลังงานไฟฟ้า
  • 4. เงินประกันการใช้ไฟฟ้า
  • 5. ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังมิเตอร์ (ถ้ามี)

การชำระค่าไฟฟ้า

  • 1. การชำระค่าไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าไฟฟ้าเมื่อพนักงานเก็บเงินไปเรียกเก็บจากท่าน ถ้าไม่ได้รับชำระ พนักงานเก็บเงินจะมอบใบเตือนให้ผู้ใช้ไฟฟ้านำไปชำระที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ในเขตที่ท่านอยู่ ถ้าครบกำหนดในใบเตือนแล้วยังมิได้ชำระเงิน การไฟฟ้าฯ จะงดจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว
  • 2. ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้ามีความประสงค์จะให้การไฟฟ้าฯ เก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน ณ สถานที่อื่นที่สะดวกต่อการชำระเงินควรปฏิบัติ ดังนี้
    • 1.1 แจ้งทาง โทรศัพท์ไปที่การไฟฟ้าฯ
    • 1.2 ติดต่อด้วยตนเองที่การไฟฟ้าฯ
    • 1.3 ทำหนังสือแจ้งถึงผู้จัดการการไฟฟ้าฯ
อนึ่ง การไฟฟ้าฯ ได้เปิดบริการชำระค่าไฟฟ้าโดยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องเสียค่าบริการแต่อย่างใด ขอให้สอบถามระเบียบการได้จากสำนักงานการไฟฟ้าฯ ทุกแห่ง

การโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า

การโอนชื่ออาจมีได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  • 1. มีการซื้อขายบ้านที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้านั้น
  • 2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย
  • 3. อื่นๆ เช่น การโอนระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่า หรือผู้เช่ากับผู้เช่าช่วง เป็นต้น การโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า คู่กรณีต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มาแสดงด้วย คือ
    • 3.1 บัตรประจำตัวของผู้โอนและผู้รับโอน (ยกเว้นตามข้อ 2 ไม่ต้องแสดงบัตรประจำตัวของผู้โอน)
    • 3.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้าของผู้รับโอน
    • 3.3 สำเนาใบมรณบัตรของผู้ใช้ไฟฟ้าเดิม (ใช้สำหรับกรณีผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย)
    • 3.4 สำเนาสัญญาซื้อขาย (ใช้สำหรับกรณีที่มีการซื้อขายบ้าน)
    • 3.5 ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้ายของผู้โอน
    • 3.6 ใบเสร็จรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
    • 3.7 หลักฐานอื่นๆ ที่จำเป็น

การขอยกเลิกใช้ไฟฟ้า

หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงเพื่อขอรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืน
  • 1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
  • 2. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  • 3. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
ผู้ใช้ไฟฟ้าอาจมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้โดยทำหนังสือมอบอำนาจซึ่งมีผู้ลง นามเป็นพยาน 2 คน และปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจไปแสดงพร้อมหลักฐานตามข้อ 1 – 3 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย เมือท่านนำหลักฐานดังกล่าวไปแสดงต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องที่ของท่านและเขียนคำร้อง ขอเลิกใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฯ จะตรวจสอบหลักฐานว่าท่านยังเป็นหนี้ค่าไฟฟ้า และมีค่าภาระผูกพันอื่นๆ อยู่อีกหรือไม่แล้วจึงจะคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ท่าน

การงดจ่ายไฟฟ้า

เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าปฏิบัติผิดกฎระเบียบข้อบังคับของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฯ จะไม่จ่ายหรืองดจ่ายไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในกรณีต่อไปนี้
  • 1. การเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในหรือภายนอก ยังไม่เรียบร้อยถูกต้องตามมาตรฐาน
  • 2. ไม่ชำระเงินตามกำหนดในใบเตือน
  • 3. ยินยอมให้ผู้อื่นต่อพ่วงไฟฟ้าไปใช้สถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในคำร้องของใช้ไฟฟ้า
  • 4. การละเมิดการใช้ไฟฟ้าหรือกระทำการใดๆ ให้การไฟฟ้าฯ ได้รับความเสียหาย และไม่ยินยอมชำระค่าเบี้ยปรับและค่าเสียหายตามที่การไฟฟ้าฯ ได้ขอเรียกเก็บ
  • 5. การกระทำอันอาจจะทำให้เกิดเหตุขัดข้องหรืออาจเกิดอันตรายหรือการใช้ไฟฟ้าที่รบกวน
ผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น ในกรณีที่มีการงดจ่ายไฟฟ้า การไฟฟ้าฯ จะจ่ายไฟฟ้าให้ใหม่ ต่อเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้ชำระเงินส่วนที่ค้างหรือชำระค่าเสียหายให้แก่การ ไฟฟ้าฯ แล้ว และต้องชำระค่าธรรมเนียม รวมทั้งค่าบริการต่างๆ ตามอัตราที่การไฟฟ้าฯ กำหนดไว้ การละเมิดการใช้ไฟฟ้า เช่นการต่อไฟฟ้าตรงโดยไม่ผ่านมิเตอร์ ตลอดจนการกระทำใดๆ ที่ทำให้มิเตอร์วัดค่าผิดไปจากที่ใช้ไฟฟ้าจริง ฯลฯ จะมีความผิดต้องถูกดำเนินคดีทางแพ่งและทางอาญา ข้อหาลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ มีโทษทั้งปรับและจำคุก 

การไฟฟ้าฯ ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย ซึ่งเกิดจากไฟฟ้าขัดข้องหรือต้องหยุดจ่ายไฟฟ้า เพราะความจำเป็นหรืองดจ่ายไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น

การแจ้งกระแสไฟฟ้าขัดข้อง

เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าเกิดปัญหาในเรื่องระบบไฟฟ้าขัดข้องภายในหรือภายนอกอาคารของ ท่าน ซึ่งท่านไม่สามารถดำเนินการแก้ไขเองได้ กรุณาติดต่อได้ที่การไฟฟ้าฯ ในท้องที่ที่ท่านอยู่ ซึ่งจะมีพนักงานช่างของการไฟฟ้าฯ ประจำอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง

การตรวจสอบมิเตอร์

การไฟฟ้าฯ จะอ่านหน่วยมิเตอร์ตามระเบียบของการไฟฟ้าฯ เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดที่สงสัยว่ามิเตอร์คลาดเคลื่อนมีสิทธิที่จะร้องขอการ ไฟฟ้าฯ ทำการทดสอบมิเตอร์ดังกล่าวได้ โดยการไฟฟ้าฯ จะทดสอบติดตั้งมิเตอร์เปรียบเทียบเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือนำมิเตอร์ไปตรวจสอบที่กองมิเตอร์และจะถือผลการทดสอบมิเตอร์ที่คลาด เคลื่อนไม่เกิน ?2.5% ถือว่ามิเตอร์นั้นถูกต้อง การไฟฟ้าฯ 

จะคิดค่าใช้จ่ายในการทดสอบตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถ้าผลการทดสอบคลาดเคลื่อนแสดงค่าเกิน ?2.5% การไฟฟ้าฯ จะเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ และไม่คิดค่าทดสอบมิเตอร์ กับทั้งจะปรับปรุงเพิ่มหรือลดหนี้สินส่วนที่คลาดเคลื่อนกับไฟ้าในเดือนถัดไป

การย้ายมิเตอร์

ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้ไปแสดงต่อพนักงานไฟฟ้าในท้องที่จะขอย้าย คือ
  • 1. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  • 2. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
  • 3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
  • 4. ทะเบียนบ้านที่จะย้ายมิเตอร์ไป

การเพิ่มขนาดมิเตอร์

ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิมต้องไปแจ้งการไฟฟ้าฯ เพื่อมาตรวจสอบเพิ่มขนาดมิเตอร์โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานไปแสดงเมื่อจะ ขอเพิ่มขนาดของมิเตอร์ ดังนี้
  • 1. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  • 2. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
  • 3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
ที่มา การไฟฟ้าภูมิภาค

Wednesday, April 27, 2011

หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง มรณะภาพแล้วแต่แล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย‏

พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง




พระเจดีย์บรรจุสรีระพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง


หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง มรณะภาพแล้วแต่แล้วสังขารไม่เน่าเปื่อย‏




พระครูภาวนาภิรมย์ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง นับว่าเป็นอริยะสงฆ์แดนทักษิณอีกองค์หนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช ตลอดชีวิตร้อยกว่าปีของท่านมีแต่เมตตาธรรมต่อผู้ที่ได้ไปกราบท่าน





สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ของท่านนั้น ขนาดพ่อท่านคล้าย แห่งวัดสวนขัน ยังกล่าวยกย่อง พ่อท่านคลิ้งเสมอ เช่นว่า มีชาวบ้านจาก อ.ร่อนพิบูลย์ไปกราบพ่อท่านคล้าย พอท่านทราบว่ามาจากร่อนพิบูลย์ ท่านก็จะกล่าวว่า “ทีหลังไม่ต้องมาไกลถึงนี้หรอก ไปหาท่านคลิ้งนั้นแหละ ท่านคลิ้ง(หลวงพ่อคลิ้ง)ให้พรดีเหมือนเหมือนฉัน” หรือ แม้แต่พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา ก็ยังกล่าวยกย่อง พ่อท่านคลิ้ง อยู่เสมอ






ประวัติ พ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ วัดถลุงทอง




หลวงพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง



พระครูภาวนาภิรมย์ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง นับว่าเป็นอริยะสงฆ์แดนทักษิณอีกองค์หนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช ตลอดชีวิตร้อยกว่าปีของท่านมีแต่เมตตาธรรมต่อผู้ที่ได้ไปกราบท่าน





ประวัติพ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ วัดถลุงทอง

เกิด 29 สิงหาคม พ.ศ.2429

บรรพชา พ.ศ.2435 ขณะอายุ 8 ปี

อุปสมบท พ.ศ.2447 ขณะอายุ 20 ปี

ละสังขาร 21 มกราคม พ.ศ.2533

รวมสิริอายุ 104 ปี 84 พรรษา
ประวัติหลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง


“หลวงพ่อคลิ้ง จันทสิริ” เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นพระเถระที่มีวิชาอาคมอีกรูปหนึ่ง นอกจากนี้หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทองท่านยังมีอายุยืนนานถึง ๑๐๔ ปี เพราะพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง ท่านเกิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และมรณภาพใน ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยออกบวชเป็นสามเณรขณะอายุ ๘ ขวบ แล้วก็ครองเพศเป็นบรรพชิตมาตลอดจวบกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต หากนับพรรษาต่อเนื่องตั้งแต่บวชเป็นสามเณรกระทั่งเป็นพระภิกษุ “หลวงพ่อคลิ้ง” ก็จะครองพรรษาได้ถึง ๙๖ พรรษา เลยทีเดียว





พระเจดีย์(พิพิธภัณฑ์พ่อท่านคลิ้ง)
วัดถลุงทอง เป็นวัดที่เงียบสงบอยู่ห่างจากถนนเอเชียสายหลัก ระหว่างร่อนพิบูลย์-นครศรีธรรมราช เข้าไปประมาณ 9 กิโลเมตร ระหว่างทางจะผ่านสวนผลไม้ ไร่นาและบ้านของชาวบ้าน บริเวณวัดสงบร่มเย็น อยู่ใกล้กับเทือกเขา ชาวบ้านบริเวณนั้นจะนับถือพ่อท่านคลิ้งมาก เพราะท่านเป็นพระที่มีเมตตาต่อทุกๆคน


พระเจดีย์(พิพิธภัณฑ์พ่อท่านคลิ้ง) บรรจุสรีระพ่อท่านคลิ้ง

พระเจดีย์บรรจุสรีระพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง






บริเวณวัดถลุงทอง

ส่วนทางด้านเรื่องราวอภินิหารของ “พ่อท่านคลิ้ง” ที่จะนำมาเล่าขานวันนี้เป็นเรื่องราวของพระเครื่องหลวงพ่อคลิ้ง “เหรียญรูปเหมือนพ่อท่านคลิ้ง หลัง ภปร” ซึ่งจัดเป็นเหรียญ ที่อุดมด้วยสิริมงคลเพราะจัดสร้างในวาระฉลองอายุครบ ๙๓ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ โดย “พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภานุพันธ์ยุคล” หรือ “เสด็จพระองค์ชายใหญ่” พระโอรสของ “จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯกรมหลวง ลพบุรีราเมศวร์” อดีตผู้สำเร็จราชการมณฑลทักษิณ พร้อมทั้งได้กราบบังคมทูล พระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญตราสัญลักษณ์ “พระปรมาภิไธยย่อ ภปร” ประดิษฐานที่ด้านหลังเหรียญจึงนับเป็นสิริมงคลอันสูงสุด ดังที่ทราบ กันดีในวงการนักสะสมว่าวัตถุมงคลที่มีความเกี่ยวเนื่อง “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” รัชกาลปัจจุบันล้วนเป็นที่นิยม ต่อนักสะสมซึ่งถึงแม้ว่า ขั้นตอนการสร้าง “เหรียญของพ่อท่านคลิ้ง” รุ่นนี้ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” มิได้เสด็จฯทรงประกอบพิธีแต่ก็ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อ “พ่อท่านคลิ้ง” ได้ทรงพระสุหร่ายและทรงเจิม “โลหะธาตุมหามงคล” แล้วพระราชทานให้นำมาหล่อหลอมผสมกับแผ่นทองลงอักขระเลขยันต์ของ “พ่อท่านคลิ้ง” นับเป็นร้อย ๆ แผ่นและโลหะสัมฤทธิ์เก่าสมัยบ้านเชียงที่มีอายุกว่า ๔,๐๐๐ ปี รวมถึงโลหะสัมฤทธิ์อันเป็น ชิ้นส่วนของพระพุทธรูปโบราณหลายสมัย เช่น ลพบุรี, ทวารวดี, สุโขทัย ฯลฯ




สรีระพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง


ประวัติ พ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ วัดถลุงทอง




หลวงพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง




พระเจดีย์บรรจุสรีระพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง



ประวัติพ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ วัดถลุงทอง

เกิด 29 สิงหาคม พ.ศ.2429

บรรพชา พ.ศ.2435 ขณะอายุ 8 ปี

อุปสมบท พ.ศ.2447 ขณะอายุ 20 ปี

ละสังขาร 21 มกราคม พ.ศ.2533

รวมสิริอายุ 104 ปี 84 พรรษา





ประวัติพ่อท่านคลิ้ง จันทศิริ วัดถลุงทอง



พ่อท่านคลิ้ง เป็นคณาจารย์ที่อายุยืนนานอีกองค์หนึ่ง พระเครื่อง วัตถุมงคลที่ท่านได้เมตตาปลุกเสกเอาไว้มีหลายชนิด เช่น เหรียญ ลูกอมชานหมาก พระปิดตาเนื้อผงผสมว่าน วัตถุมงคลพ่อท่านคลิ้งท่านเด่นทางด้าน เมตตามหานิยม โภคทรัพย์ แคล้วคลาด







พระเจดีย์(พิพิธภัณฑ์พ่อท่านคลิ้ง)



วัดถลุงทอง เป็นวัดที่เงียบสงบอยู่ห่างจากถนนเอเชียสายหลัก ระหว่างร่อนพิบูลย์-นครศรีธรรมราช เข้าไปประมาณ 9 กิโลเมตร ระหว่างทางจะผ่านสวนผลไม้ ไร่นาและบ้านของชาวบ้าน บริเวณวัดสงบร่มเย็น อยู่ใกล้กับเทือกเขา ชาวบ้านบริเวณนั้นจะนับถือพ่อท่านคลิ้งมาก เพราะท่านเป็นพระที่มีเมตตาต่อทุกๆคน





บริเวณวัดถลุงทอง สงบเงียบร่มเย็น



สรีระพ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง




เหรียญพ่อท่านคลิ้ง ภปร
เหรียญรูปเหมือน พ่อท่านคลิ้ง หลัง ภปร



และจากพิธีสร้างที่ดีเยี่ยมนี้เองจึง เป็นเหรียญพ่อท่านคลิ้ง ที่มีประสบการณ์มากมายอย่างเช่น “นายสุนทร บุญชอุ่ม” ชาวตำบลคานโพธิ์ อ.เมือง จ.สตูล ได้เล่าให้ฟังว่า ตัวเขานั้นมีอาชีพเป็น “ไต้ก๋งเรือ” ประมงขนาดเล็กที่ออกหาปลาในแถบ “ทะเลอันดามัน” โดยมีลูกเรือเพียง ๕ คน ซึ่งช่วงที่พบประสบการณ์นั้น “นายสุนทร” จำได้แม่นว่าเป็นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เพราะเป็นฤดูมรสุมทางภาคใต้โดยขณะนำเรือออกหาปลาช่วงเวลาประมาณสองทุ่มเศษ ปรากฏคลื่นขนาดยักษ์ถล่มเรือประมงของเขาอับปางลง “นายสุนทร” พร้อมลูกเรือต่างกระจัดกระจายไปคนละทิศละทางโดย “นายสุนทร” ที่เคยเป็นลูกเรือมาก่อนจึงช่วยเหลือตัวเองด้วยการเกาะเศษไม้จากเรือที่ อับปางคอยพยุงตัวเองลอยคออยู่กลางทะเลถึง “๒ วัน ๒ คืน” โดยขณะนั้นได้แต่ภาวนาให้ “พ่อท่านคลิ้ง” ช่วยเหลือเนื่องจากในคอแขวน “เหรียญพ่อท่านคลิ้งหลัง ภปร” เพียงเหรียญเดียว กระทั่งเช้าตรู่วันที่สาม ขณะจวนจะหมดแรงอยู่แล้ว ก็มีเรือประมงขนาดใหญ่มาช่วยไว้และหลังจากฟังเรื่องราวของ “นายสุนทร” ทุกคนบนเรือประมงที่มาช่วยต่างสงสัยไปตาม ๆ กันว่า “นายสุนทร” รอดได้อย่างไรเพราะเป็นที่รู้กันดีในหมู่ชาวประมงหากเรือประมงขนาดเล็ก อับปางลงยังกลางทะเล ยากที่จะมีคนรอดได้แม้จะเก่งด้านว่ายน้ำแค่ไหนก็ตาม เพราะการว่ายน้ำข้ามวันข้ามคืนจะทำให้หมดแรงไปเองซึ่งตัว “นายสุนทร” เองก็ไม่รู้เช่นกันว่ารอดได้อย่างไรเพราะช่วงที่ลอยคออยู่ในทะเลนั้น คลื่นแรงมากปะทะหน้าอกเจ็บระบมไปหมดจึงได้แต่ภาวนาขอให้ “เหรียญพ่อท่านคลิ้ง ภปร” ที่แขวนอยู่ในคอช่วยแล้วกัดฟันว่ายน้ำไป



รูปถ่ายพ่อท่านคลิ้ง ในพระเจดีย์ วัดถลุงทอง

รูปถ่ายพ่อท่านคลิ้ง ในพระเจดีย์ วัดถลุงทอง

ส่วนอีกเรื่อง “นายฉลอง สง่าวงศ์” อาชีพทำไร่อยู่บ้านเลขที่ ๕๕๑ หมู่ ๔ ต.ไร่ใหม่ อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เล่าว่าตัวเขาชนะคดีความพิพาทกับเพื่อนบ้านเรื่องที่ดิน จึงถูกเพื่อนบ้านผู้นั้นเจ็บแค้นมาตลอด วันหนึ่งในเดือน มิ.ย. ๒๕๔๗ เวลาประมาณสามทุ่มเศษ ขณะ “นายฉลอง” เดินไปตามถนนในหมู่บ้านที่ทั้งมืดและเปลี่ยวปรากฏมีมือปืนมาซุ่มยิงด้วย “ปืนลูกซองกระสุนลูกโดด” (ปกติลูกซองจะเป็นกระสุนลูกปราย) สองนัดปรากฏว่าลูกกระสุนโดนลำตัวนายฉลองอย่างจังแต่นายฉลองกลับไม่เป็นอะไร มือปืนจึงยิงอีก ๒ นัด แต่กระสุนปืนก็ทำอะไรนายฉลองไม่ได้เช่นเคย มือปืนที่ซุ่มยิงจึงวิ่งเข้าหานายฉลองแล้วใช้ด้ามปืนตีท้ายทอยนายฉลอง ที่ยืนงงอยู่กับที่ถึงกับสลบเหมือดแล้วมือปืนจึงหนีไป กระทั่งเช้าวันรุ่งขึ้นจึงมีคนมาพบจึงพยุงนายฉลองกลับบ้าน ปรากฏว่านายฉลองโดนยิงลำตัวถึง ๓ นัด แต่กระสุนไม่เข้าเป็นเพียง “รอยช้ำแดง” เท่านั้นนายฉลองจึงเชื่อมั่นว่าเป็นเพราะ พระเครื่องหลวงพ่อคลิ้ง“เหรียญพ่อท่านคลิ้ง หลัง ภปร” ที่ใส่ตลับสเตนเลสแขวนคอไว้เพียงเหรียญเดียวช่วยไว้....'แฉ่ง บางกระเบา'


.......................................................................


พระครูภาวนาภิรมย์ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง



สำหรับใครที่ยังไม่เคยไปกราบไหว้ พ่อท่านคลิ้ง วัดถลุงทอง ถ้ามีโอกาสลองแวะเข้าไปกราบไหว้สรีระพระอริยะสงฆ์แดนทักษิณ ดูนะครับเพื่อขอพรและความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว

ขอบคุณ ข้อมูลจาก
http://www.tumsrivichai.com/

Tuesday, April 26, 2011

ปลูกข่าเหลือง

"ข่าเหลือง" พืชสมุนไพรไทยที่ นางสัมภาษณ์ อยู่สุ่ม เกษตรกรวัย 43 ปี แห่ง ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง บนพื้นที่ 3 ไร่ เป้าหมายเพื่อสร้างรายได้เสริมหลังว่างเว้นจากการทำสวนทุเรียน ลองกองและกาแฟ ปัจจุบันกลายเป็นพืชที่สร้างรายได้หลัก ใช้เวลาปลูกเพียง 6 เดือน สร้างรายได้หักค่าใช้จ่ายแล้วไร่ละกว่าแสนบาท แถมการลงทุน การดูแลน้อยกว่า ขณะที่ความต้องการของตลาดเปิดกว้าง และมีอนาคตที่สดใส




การปลูก "ข่าเหลือง" ของนางสัมภาษณ์นั้น เธอเล่าว่าเกิดขึ้นเมื่อปี 2540 เพื่อปลูกไว้กินเองบนเนื้อที่ไม่ถึงงาน แต่ผลผลิตกลับได้มาก ทำให้มีส่วนเหลือพอที่จะนำไปขายในตลาดซึ่งได้ราคาดี จึงเกิดแนวคิดที่จะปลูกเป็นรายได้เสริมจากการทำสวนลองกอง สวนทุเรียน และสวนกาแฟ ในปีต่อมาบนพื้นที่ 8 ไร่ โดยได้รับการสนับสนุนต้นพันธุ์จากสำนักงานเกษตรจังหวัดระนอง



หลายๆ คนไม่เชื่อว่าการปลูกข่าเหลือง จะสามารถทำรายได้ได้มากถึงไร่ละกว่าแสนบาท นางสัมภาษณ์ ยืนยันว่าเป็นความจริง เพราะหากเกษตรกรปลูกตามคำแนะนำของผู้ที่มีความรู้ ด้วยระยะปลูก 50x50 เซนติเมตร บนพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ถึง 6,400 กอ หลังปลูก 6-8 เดือนจะขุดเฉลี่ยกอละ 1.5 กิโลกรัม และจะได้ผลผลิตทั้งไร่ประมาณ 9,600 กิโลกรัม



"จะขายกิโลกรัมละ 15-18 บาท ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด และตั้งแต่ปลูกมาเกือบ 10 ปี จะมีรายได้ไร่ละ 144,000 -172,000 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ก็จะมีเงินเหลือไร่ละแสนเศษ" นางสัมภาษณ์ เผยและว่า การปลูกข่าเหลือง 1 ไร่ เมื่อเทียบแล้วจะสร้างรายได้ได้ดีกว่าปลูกกาแฟ 3 ไร่



ความที่ "ข่าเหลือง" มีสีสวย อวบอ้วน เนื้อนุ่ม ไม่มีเสี้ยน อีกทั้งรสชาติไม่เผ็ดจนเกินไป นางสัมภาษณ์ บอกว่า จึงทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดสูง ทั้งใช้เป็นอาหาร แปรรูป หรือแม้กระทั่งใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอาง ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคในปัจจุบันนี้



"เติบโตได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย น้ำไม่ท่วม ดูแลรักษาไม่ยาก ลงทุนต่ำ โรคและแมลงรบกวนน้อย ให้ผลตอบแทนเร็ว เพียงเวลา 6-8 เดือน ก็ขุดจำหน่ายได้ เวลานี้เพื่อนเกษตรกรเกือบทั้งตำบลปลูกข่าเหลืองกันมาก รวมเนื้อที่แล้วไม่ต่ำกว่าพันไร่ แต่ผลผลิตที่ได้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด" นางสัมภาษณ์ กล่าวด้วยความภาคภูมิใจ



ขณะที่ นายประสิทธิ์ เทวโลก พ่อค้าข่าเหลือง บอกว่า มีพ่อค้าแม่ค้าไปรับซื้อพืชผักของ ต.บ้านนา วันละ 7-10 คันรถปิกอัพ กระจายกันไปขายในหลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็น ภูเก็ต กระบี่ พังงา กรุงเทพฯ ในส่วนของตนรับซื้อและส่งขายที่ชุมพรและกรุงเทพฯ สัปดาห์ละ 2-3 เที่ยว ด้วยความมั่นใจว่าอนาคตพืชสมุนไพรชนิดนี้จะไปได้ดี จึงหันมาปลูกเองด้วยบนพื้นที่ 36 ไร่



ปัจจุบันข่าเหลืองเป็นพืชเศรษฐกิจพื้นบ้านที่สำคัญของ ต.บ้านนา โดย นายชิงชัย เพชรพิรุณ เกษตรจังหวัดระนอง ยืนยันว่าเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สภาพดินฟ้าอากาศของจังหวัด เกษตรกรปลูกง่ายไม่จำเป็นต้องใช้หลักวิชาการมากนัก ลงทุนต่ำ ให้ผลตอบแทนต่อไร่สูง ทำรายได้เร็ว ดังนั้นสำนักงานเกษตรจังหวัดจึงได้ส่งเสริม และสนับสนุนต้นพันธุ์แก่เกษตรกร ใน 4 อำเภอ 1 กิ่ง 234 ราย จำนวน 93,600 ต้น



ด้าน นายศรัณย์ จันทร์ดี นายอำเภอกะเปอร์ เสริมว่า ข่าเหลืองของ ต.บ้านนา มีคุณภาพดี เนื้อเหลือง รสชาติไม่เผ็ดร้อนจนเกินไป ที่สำคัญในการปลูกเกษตรกรไม่ใช้สารเคมี จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยจากสารพิษ พร้อมกับฝากถึงผู้ที่สนใจในรายละเอียด ติดต่อที่สำนักงานเกษตรอำเภอกะเปอร์ โทร 0-7789-7125

การปลูกตะไคร้หอม การปลูกตะไคร้ขาย แนะวิธี การปลูกตะไคร้เพื่อการค้า

“ตะไคร้” จัดเป็นพืชผักสวนครัวอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกและดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก โดยเฉพาะถ้าปลูกในสภาพดินร่วนปนทรายจะดีที่สุด กลุ่มผู้ปลูกตะไคร้ตัดใบ โดยมี คุณอานัน ม่วงคำ เป็นหัวหน้ากลุ่มฯ บ้านเลขที่ 49/2 หมู่ 9 ต.หนองหลวง อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร โทร. 08-9270-5140 มีอาชีพปลูกตะไคร้ตัดใบมานานเกือบ 10 ปี ปัจจุบันมีสมาชิกในกลุ่มฯ ประมาณ 30 ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกตะไคร้ประมาณ 120 ไร่ ถือเป็นแหล่งผลิตตะไคร้ตัดใบที่ใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศและผลผลิตจะส่งแบบ ตะไคร้แห้งให้โรงงานเพื่อนำไปผลิตเป็น “ชาใบตะไคร้” เพื่อส่งไปขายยังหลายประเทศทั่วโลก




ในการปลูกตะไคร้ตัดใบของกลุ่ม ผู้ปลูกตะไคร้ตัดใบจะเริ่มต้นด้วยการเตรียมดินด้วยการไถแปรและไถดะให้ดิน เรียบ หลังจากนั้นให้ทำเทือกเหมือนกับการทำนาโดยการปล่อยน้ำให้ท่วมแปลงประมาณ 1 คืบมือ จากนั้นใช้รถไถเดินตามติดผาน คราดให้ดินเรียบที่สุด เมื่อปรับดินเรียบร้อยแล้วปล่อยน้ำขัง 1 คืน วันรุ่งขึ้นปล่อยน้ำออกจากแปลง
 
 ในการเตรียมต้นพันธุ์ให้ใช้ต้นตะไคร้ที่ปลูกไว้นานเฉลี่ย 8-10 เดือน ซึ่งมีลักษณะลำต้นอวบอ้วน เกษตรกรจะทำการขุดทั้งกอแล้วแยกเป็นต้น ๆ นำมาตัดรากและใบทิ้งและนำไปปลูกได้ทันที (เกษตรกรบางรายอาจจะเอาไปแช่น้ำไว้ก่อน 2-3 วันเพื่อให้ต้นตะไคร้ออกรากมาใหม่จึงนำไปปลูก) วิธีการปลูกเหมือนกับการดำนา ปักต้นตะไคร้ลงตรง ๆ ลึกประมาณ 1-2 นิ้ว ใช้ระยะปลูก 15x15 เซนติเมตร หรือ 20x20 เซน ติเมตร ให้ปักต้นตะไคร้หลุมละ 1 ต้นเท่านั้น
 
พื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะปลูกต้นตะไคร้ได้ประมาณ 10,000-15,000 ต้น ถ้าคำนวณเป็นน้ำหนักจะใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 400-500 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากปลูกตะไคร้ไปแล้วเกษตรกรจะต้องให้น้ำทุก 5-7 วัน วิธีการให้ส่วนใหญ่จะให้แบบปล่อยน้ำเข้าแปลง ต้นตะไคร้จะเริ่มตั้งตัวได้เมื่อต้นมีอายุได้เฉลี่ย 7-10 วันหลังปลูก ให้หว่านปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46-0-0) เหมือนกับการหว่านปุ๋ยในนาอัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ ปุ๋ยเคมีจะต้องหว่านเป็นประจำทุกเดือนโดยใช้สูตร 46-0-0 สลับกับสูตรเสมอ 16-16-16




ต้นตะไคร้จะเริ่มตัดใบขายได้หลังจากปลูก ไปแล้วเพียง 1 เดือน หลังจากนั้นจะตัดได้ทุกเดือนตลอดทั้งปีเหมือนมีเงินเดือนประจำจะเริ่มตัดใน ช่วงเวลาเช้าพอช่วงสาย ๆ จะหยุดนำเอาใบตะไคร้ที่ตัดมารวมกองไว้เป็นจุด ๆ มัดฟ่อนแล้วเอาเข้าร่ม ในการเก็บเกี่ยวถ้ามีการจ้างแรงงานจะคิดค่าเก็บเกี่ยวเป็นน้ำหนักกิโลกรัมละ 70 สตางค์



คุณอานันจะมีการประกันการรับซื้อใบตะไคร้แห้งจากสมาชิก ในกลุ่มฯ ในราคากิโลกรัมละ 12.50 บาท ในพื้นที่ปลูกตะไคร้ 1 ไร่ ในการเก็บเกี่ยวแต่ละครั้งจะได้ใบตะไคร้แห้งเฉลี่ย 300-500 กิโลกรัม (ใบตะไคร้สดหนัก 100 กิโลกรัม ได้ใบตะไคร้แห้งประมาณ 25 กิโลกรัม) การปลูกตะไคร้มีการดูแลรักษาไม่ยุ่งยากโรคแมลงน้อยและมีต้นทุนในการผลิตต่ำ.



ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Tuesday, April 5, 2011

วาเด็ง ปูเต๊ะ พระสหายแห่งสายบุรี

… พระเมตตาคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์จัดเป็น อัปปมัญญา คือไม่จำกัดขอบเขต ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่ถือเขาถือเรา ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ดังนั้น คนไทยทั้งแผ่นดินไม่ว่าจะเป็นชาวเขาชาวเรา ชาวพุทธชาวมุสลิมต่างก็รักในหลวง วาเด็ง ปูเต๊ะ พระสหายแห่งสายบุรี เป็นสักขีพยานที่ดีในเรื่องพระเมตตาคุณไม่จำกัดขอบเขตนี้














…วาเด็ง ปูเต๊ะ ผู้เฒ่าวัย ๙๒ ปี แห่งอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เล่าว่า เมื่อ ๑๕ ปีที่แล้ว ทหารกลุ่มหนึ่งมาตามที่บ้านบอกให้เขาไปพบในหลวง ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทอดพระเนตรความเป็นไปได้ในการสร้างอาคาร กั้นน้ำที่คลองน้ำจืดบ้านทุ่งเค็จ อำเภอสายบุรี วาเด็ง ปูเต๊ะจึงได้เฝ้าในหลวงเป็นครั้งแรก เขาเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนั้น ดังนี้



“ตอน นั้นผมทราบแล้วว่า เป็นในหลวง แต่จะเข้าไปใกล้ๆ ก็ไม่กล้า เพราะว่า นุ่งโสร่งตัวเดียว ไม่ได้สวมเสื้อ พอเข้าไปใกล้ๆ ในหลวงก็บอกว่า จะมาขุดคลองชลประทานให้ พอได้ยินอย่างนั้น ผมก็ดีใจมาก คุยกันเยอะ ท่านถามว่า ถ้าขุดคลองสายทุ่งเค็จนี้จะไปสิ้นสุดลงที่ตรงไหน ผมบอกท่านว่า คลองเส้นนี้มีที่ดินติดเขตตำบลแป้น ทางเหนือขึ้นไปสุดที อำเภอศรีสาคร ในหลวงถามต่อว่า ถ้าไปออกทะเลจะมีกี่เกาะ ผมก็ตอบท่านไปว่า มี ๔ เกาะ ท่านก็ชมว่าเก่งสามารถจำทุกที่ที่ผ่านไปได้ แล้วท่านก็เปิดดูแผนที่ที่นำมาด้วย แล้วบอกว่า ผมรู้จริง ไม่โกหก ทุกสิ่งที่ผมบอกมีอยู่ในแผนที่ของพระองค์แล้ว …ในหลวงคุยกับผมเป็นภาษามลายู ท่านพูดมลายูสำเนียงไทรบุรี คุยกันก็เข้าใจเลย พอเจอกันบ่อยๆ คุยกัน มีความเห็นตรงกัน ท่านก็เลยรับผมเป็นพระสหาย ผมบอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่บอกท่านไปทั้งหมดเป็นความจริง พูดโกหกไม่ได้จะเป็นบาป ”

วาเด็ง ปูเต๊ะ





โดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)



————————————







เมื่อวันที่ 26 กันยายน บริเวณศาลาศิริราช 100 ปี โรงพยาบาลศิริราช นายวาเด็ง ปูเต๊ะ หรือ “เป๊าะเด็ง” อายุ 93 ปี หรือที่รู้จักในนาม “พระสหายแห่งสายบุรี” พระสหายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เดินทางโดยเครื่องบินจากบ้านบาเลาะ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เพื่อมาลงนามถวายพระพร





ทั้งนี้ นายอับดุลเลาะ อาแว หลานชายของนายวาเด็ง ปูเต๊ะ ซึ่งเดินทางมาด้วยกัน เพื่อทำหน้าที่ดูแลและแปลภาษา บอกว่า ออกจากบ้านตั้งแต่เวลา 09.00 น. เมื่อมาถึงสนามบินดอนเมืองก็เดินทางโดยรถยนต์มาที่ศาลาศิริราช 100 ปี วันนี้เป๊าะเด็งเลือกสวมชุดซาฟารีสีกรมท่า และติดเข็มตราสัญลักษณ์ครองราชย์ 60 ปี ที่อกเสื้อด้านขวา และใช้วิธีลงนามถวายพระพรด้วยการพิมพ์นิ้วโป้งมือข้างขวาลงบนสมุดลงนามถวายพระพร แล้วให้ตนเขียนชื่อวาเด็งกำกับอีกครั้ง เนื่องจากไม่สามารถเขียนภาษาไทยได้



หลังจากนายวาเด็งแสดงความเคารพต่อหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว พระสหายแห่งสายบุรีก็เผยความรู้สึกเป็นภาษายาวี โดยมีหลานชายเป็นคนแปลให้ ว่า ทราบข่าวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระประชวรจากทางโทรทัศน์ รู้สึกตกใจมาก หลังจากทราบข่าวก็สวดดูอาร์ขอพรจากพระเจ้าหลังละหมาดทุกครั้ง เพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหายจากพระอาการประชวร
พระสหายแห่งสายบุรี


เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า วันนี้นำอะไรมาทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหมือนเช่นทุกครั้งที่มีโอกาสมาร่วมถวายพระพรหรือไม่ นายวาเด็ง ตอบว่า “ตอนแรกตั้งใจจะนำทุเรียนและลองกองที่ปลูกไว้ในสวนอย่างละ 3 ต้น มาทูลเกล้าฯ ถวาย แต่เสียดายที่สภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย ทำให้ผลไม้ไม่ออกผลตามฤดูกาล” “ไม่ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3-4 ปีแล้ว ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประชวร บอกไม่ถูกว่าเป็นห่วงอย่างไร แต่อยากมาเข้าเฝ้าฯ บ่อยขึ้น วันนี้ที่ได้มาลงนามถวายพระพรก็รู้สึกเหมือนได้พบพระพักตร์แล้ว คิดถึงและเป็นห่วงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาก เมื่อรู้ว่าจะได้มากรุงเทพฯ เพื่อถวายพระพรรู้สึกตื่นเต้น นอนไม่หลับ ตนและภรรยาก็มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคชราเช่นกัน จึงตั้งใจว่าจะพักอยู่กรุงเทพฯ ต่ออีก 1-2 วัน และหากเป็นไปได้อยากอยู่รอจนถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินกลับ จากนั้นจึงค่อยเดินทางกลับบ้านที่ จ.ปัตตานี ส่วนที่ได้ฉายา “พระสหายแห่งสายบุรี” นั้น ส่วนตัวเห็นว่า เป็นเรื่องที่ดีใจและภาคภูมิใจที่สุดอย่างไม่มีอะไรจะเทียบได้” นายวาเด็งกล่าว


สำหรับ “วาเด็ง ปูเต๊ะ” หรือ “เป๊าะเด็ง” เป็นพระสหายแห่งสายบุรี แม้ในวัย 93 ปี แต่ความจงรักภักดีและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณไม่เคยเสื่อมคลาย ย้อนเวลากลับไปเมื่อประมาณ 15-16 ปีที่แล้ว ขณะที่ “เป๊าะเด็ง” กำลังขะมักเขม้นอยู่กับการดูแลต้นทุเรียนและลองกองในสวน ช่วงเวลาใกล้ค่ำได้เห็นคนกลุ่มหนึ่งเดินเข้ามา หนึ่งในจำนวนนั้นได้กวักมือเรียกให้เข้าไปหา แต่ตัวผู้เฒ่าเองกลับรู้สึกกล้า ๆ กลัว ๆ ไม่กล้าเข้าใกล้ ผู้เฒ่าเห็นทหารกลุ่มหนึ่งเดินเข้ามาและกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ พระราชดำเนินมาทอดพระเนตรความเป็นไปได้ในการสร้างอาคาร กั้นน้ำที่คลองน้ำจืดบ้านทุ่งเค็จ ต.แป้น อ.สายบุรี “วันนั้น เป๊าะ กำลังทำสวนอยู่กับภรรยา (นางสาลาเมาะ ปูเต๊ะ) บริเวณประตูน้ำบ้านบาเลาะ ต.ปะเสยะวอเป็นป่าทึบ ก็มีคุณหญิงคนหนึ่งมาบอกว่า ในหลวง ต้องการพบตัวแต่ภรรยาไม่กล้าไปพบ จนกระทั่งเป๊าะเลี้ยงโคกลับมา ก็มีตำรวจมาตามเป็นครั้งที่สอง เป๊าะ ตกใจมากว่าตำรวจมาตามเรื่องอะไร เพราะไม่ได้ทำอะไรผิด จนกระทั่งสื่อสารกันเข้าใจว่า ในหลวง ต้องการมาสร้างฝายกั้นน้ำคลองน้ำจืด บ้านทุ่งเค็จ ต.แป้นอ.สายบุรี เพื่อช่วยเหลือเรื่องแหล่งน้ำแก่ชาวบ้านในการทำการเกษตร เป๊าะ ถึงกล้าไปพบ แต่ตอนนั้น เป๊าะ ยังไม่ค่อยเชื่อว่าพระองค์จะเข้ามาอยู่ในป่าในเขาแบบนี้ จึงคิดว่าคนที่มาบอกโกหก ขนาดมาพบพระองค์แล้ว เป๊าะ ก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็น ในหลวง จริงหรือเปล่า จึงแอบหยิบเงินใบละ 100 บาท กับใบละ 20 บาทขึ้นมาดู จึงแน่ใจว่าเป็นพระองค์เสด็จฯ มาจริง ๆ
ดาเด็ง ปูเต๊ะ พระสหายแห่งสายบุรี






ตอนแรกที่พบ ในหลวง เป๊าะ ก็ไม่กล้าเข้าไปใกล้ ๆ เพราะตอนนั้นนุ่งโสร่งตัวเดียว เสื้อก็ไม่ได้ใส่ด้วย แต่พอเข้าไปใกล้ ๆ ในหลวงก็ตรัสเป็นภาษามลายูว่า จะสร้างคลองชลประทานให้ หลังจากนั้น ในหลวง ท่านก็ทรงสอบถามเส้นทางการขุดคลองสายทุ่งเค็จว่ามีเขตติด ต่อที่ไหนบ้าง จึงได้เล่าให้ในหลวงทรงทราบว่าคลองเส้นนี้ทางเหนือจะติดเขตพื้นที่ อ.ศรีสาครจ.นราธิวาส ในหลวง ตรัสถามว่าหากออกไปทางทะเลจะมีเกาะกี่เกาะ เป๊าะ ก็ตอบพระองค์ไปว่ามี 4 เกาะ ในหลวง จึงทรงเอาแผนที่ที่นำติดตัวมาออกมาดูอีกครั้ง และตรัสชมว่า วาเด็งเป็นคนรู้พื้นที่จริง…เหมือนกับชาวบ้านอีกหลายพื้นที่ที่พระองค์ เคยเข้าไปช่วยเหลือมาแล้ว พระองค์ยังตรัสด้วยว่า “ไม่ว่าจะไปช่วยใครที่ไหนก็ต้องถามเจ้าของพื้นที่ก่อน…เพราะชาวบ้านจะรู้จริงกว่าคนอื่น”



วันรุ่งขึ้นข้าราชการที่มารับเสด็จก็ต้องตกตะลึงไปตาม ๆ กัน เมื่อพระองค์ทรงรับสั่งให้ เป๊าะ พายเรือให้พระองค์เพื่อทำการสำรวจคลองสายทุ่งเค็จ พระองค์มีพระราชดำรัสถาม พร้อมเปิดแผนที่เพื่อให้รู้ว่าจะสร้างแหล่งชลประทานอย่างไร ตอนพายเรืออยู่ ในหลวง ตรัสด้วยว่า “ให้วาเด็งทำตัวให้สบาย…มีอะไรที่ชาวบ้านเดือดร้อนก็ให้เล่ามาตามความจริง” เป๊าะ จึงบอก ในหลวง ว่าเมื่อถึงเวลาหน้าฝน น้ำจะท่วม ทำนาไม่ได้ เมื่อถึงหน้าแล้ง ก็ทำนาไม่ได้ เพราะไม่มีน้ำทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน พระองค์ก็ตรัสกับ เป๊าะ อย่างไม่ถือพระองค์และตรัสถามอีกว่า ชาวบ้านทำการเกษตรอะไรบ้าง เป๊าะ จึงตอบพระองค์ไปว่าชาวบ้านไม่เดือดร้อนอะไร ทุกคนทำการเกษตรตามวิถีชีวิตของคนชนบท คือ ปลูกพืชผักสวนครัว และทำสวนไว้กินกันทุกบ้าน จากนั้น ในหลวง คงจะทรงลองใจเป๊าะ จึงตรัสถามขอที่ดินเพื่อทำโครงการพระราชดำริ ด้วยความปลาบปลื้ม เป๊าะ จึงขอยกที่ดินถวายให้พระองค์ทันที ในหลวง จึงแย้มพระสรวล และมีพระราชดำรัสว่าให้ เป๊าะ เป็น “พระสหาย” ตั้งแต่บัดนั้น ในหลวง ตรัสเรื่องนี้ว่า “วาเด็งเป็นคนซื่อตรง…จึงขอแต่งตั้งให้วาเด็งเป็นเพื่อนของในหลวง” พร้อมทรงชวนให้ เป๊าะ และภรรยาเดินทางไปเที่ยวที่กรุงเทพฯ และเมื่อพระองค์เสด็จฯ มาสามจังหวัดก็เรียกให้เข้าเฝ้าที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ทุกครั้งล่าสุด ในหลวง ตรัสว่าให้วาเด็งหยุดทำงานได้แล้ว เพราะแก่แล้ว อายุมากแล้ว ทรงเป็นห่วงสุขภาพของ เป๊าะ กลัวว่าทำงานหนักจะไม่สบาย” วาเด็ง ปูเต๊ะ เล่าถึงเหตุการณ์วันที่ได้รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยไม่คาดฝัน จนกระทั่งได้กลายมาเป็น “พระสหาย” แห่งสายบุรี ในเวลาต่อมาวาเด็ง ปูเต๊ะ บอกอีกว่า ตอนที่ไม่มีทีวีให้ดู เวลาอยากเห็นหน้า ในหลวง ก็จะหยิบเงินมาดูก็พอหายคิดถึงได้บ้าง พอมีทีวีแล้วก็จะรอดูแต่ข่าวในพระราชสำนักทุกวัน แต่พอพระองค์ทรงพระประชวรก็ต้องมาตามดูข่าวในพระราชสำนักตอนกลางวัน และตอนค่ำด้วย







ต่อมา ในหลวง ทรงสงสารจึงมอบเงินให้ เป๊าะ ครั้งละหลายหมื่นบาท หากไม่ได้เสด็จฯ มาก็ทรงฝากเงินมากับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แทบทุกครั้ง


-----------------------------------------------------------------------------