Saturday, July 20, 2013

การปลูกกล้วยน้ำว้า

เมื่อไม่นานมานี้ประเทศไทยได้มีการลงนามทำสัญญาการซื้อขายสินค้าเกษตรจำนวน 7 ชนิด ด้วยกันกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ กะหล่ำปลี กล้วยน้ำว้า ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เม็ดละหุ่ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมะขามเปียก
เนื่องจากพืชการเกษตรเหล่านี้ประเทศไทยเริ่มมีการขาดแคลน ด้วยพื้นที่เพาะปลูกเริ่มลดน้อยลง ประกอบกับราคาแรงงานภาคการเกษตรของไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศสาธารณรัฐประชา ธิปไตยประชาชนลาว แต่ถึงกระนั้นหากพิจารณากันถึงพื้นที่ที่สามารถนำมาเพาะปลูกได้ ประเทศไทยก็ยังมีพื้นที่อีกมากที่ยังว่างเปล่าอยู่โดยที่ไม่มีพืชใด ๆ ในพื้นที่ โดยเฉพาะภาคอีสาน ก็สามารถที่จะนำกล้วยน้ำว้า พืชที่เคยมีชื่อเสียงของไทยมานมนานนำมาปลูกและสามารถให้ผลผลิตที่คุ้มค่าโดยที่การลงทุนไม่สูงและดูแลไม่มากนัก อย่างที่ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ศรีสะเกษ มีการศึกษาปลูกกล้วยในพื้นที่ดินแบบอีสาน พบว่าสามารถทำได้และให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
ในการศึกษาทดลองพบว่า เบื้องต้นในการปลูกกล้วยน้ำว้านอกจากมีพื้นที่แล้วก็คือ ควรปลูกในฤดูฝน และพูนดินกลบโคนต้นให้สูงเพื่อป้องกันน้ำขัง ส่วนในฤดูอื่น ๆ  ไม่ควรพูนดินกลบโคนให้สูงนัก เพราะไม่ต้องการให้น้ำไหลออก ถ้าต้องการให้กล้วยออกปลีไปทิศทางเดียวกันก็หันรอยแผลที่เกิดจากการแยกหน่อกล้วยไปในทิศทางเดียวกัน การขยายพันธุ์ก็ใช้หน่อ  ซึ่งหน่อจะมีอยู่ 3 ชนิด คือ หน่ออ่อน เป็นหน่อที่มีอายุน้อยมาก ยังไม่มีใบ หน่อใบแคบ เป็นหน่อที่มีใบบ้าง แต่ใบเรียวเล็ก ชาวบ้านเรียกว่า หน่อดาบ และหน่อใบกว้าง เป็นหน่อที่มีใบบาง เป็นใบโตกว้างคล้ายใบจริงส่วนมากเป็นหน่อที่เกิดจากตาของเหง้าที่อยู่ใกล้ผิวดิน หากจะเร่งการเจริญเติบโตก็ให้ใส่ปุ๋ยซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยมาก  จะช่วยให้ลำต้นอวบแข็งแรงตกเครือเร็วและได้ผลโต
การเจริญเติบโตของกล้วยมี 3  ระยะ คือ ระยะที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ต้นกล้วยตั้งตัวหลังการปลูก ระยะนี้เป็นเวลาที่ต้นกล้วยต้องการอาหารมากเครือหนึ่ง ๆ จะมีกล้วยกี่ผลนั้น อยู่ที่ความสมบูรณ์ของดินระยะนี้  ระยะที่ 2 อยู่ในระหว่างหลังตั้งตัวได้จนถึงก่อนตกเครือเล็กน้อย ระยะนี้กล้วยไม่ใช้อาหารมากอาหารต่าง ๆ  จะถูกใช้โดยหน่อที่แตกขึ้นมา ระยะที่ 3 เป็นระยะที่แก่ เป็นระยะที่กล้วยต้องการมากเหมือนกันเพื่อนำไปบำรุงผล ให้โตขึ้น
ต้นกล้วยต้องมีอาหารสำรองอยู่มาก ๆ  จึงจะสามารถให้กล้วยเครือโต ๆ ได้จากระยะการเจริญเติบโตดังกล่าว การใส่ปุ๋ยจึงควรใส่ครั้งแรก 1 อาทิตย์  หลังจากปลูก ครั้งที่ 2 ใส่หลังจากครั้งแรกประมาณ 1 เดือน และครั้งที่ 3  ใส่หลังจากครั้งที่  2 ประมาณ 1 เดือน ปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก็ได้หรืออาจจะใช้ปุ๋ยเคมีชนิดที่ใช้กับไม้ผลทั่วไป เช่น สูตร 15-15-15, 13-13-21 เป็นต้น  โดยใส่ต้นละ 1 กิโลกรัม แบ่งใส่ 2 ครั้ง คือเมื่อกล้วยมีอายุได้ 2 เดือน และ 5 เดือน  ตามลำดับ
เมื่อปลูกกล้วยน้ำว้า ได้ประมาณ 5–6 เดือน หน่อใหม่จะเกิดขึ้นมาก่อนหน้าที่กล้วยจะตกเครือเล็กน้อยควรเลือกไว้เพียง 2 หน่อแรกก็พอ เพื่อแทนต้นแม่เดิม หน่อที่เลือกควรอยู่ตรงข้ามกันของลำต้นเดิมหน่อพวกนี้มีรากลึกและแข็งแรง   ถือว่าดีที่สุด  ส่วนหน่อที่เกิดมาทีหลังเรียกว่า หน่อตาม ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นมาจะทำให้กล้วยเครือเล็กลงจึงควรทำลาย
การกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งจำเป็นต่อการปลูกกล้วยน้ำว้า โดยเฉพาะพืชใบแคบจะแย่งอาหารเก่ง ทำให้กล้วยได้รับอาหารไม่เต็มที่ การเจริญเติบโตจะไม่ดี  แต่ในการกำจัดวัชพืชโดยวิธีการพรวนดิน ไม่สมควรกระทำเพราะรากกล้วยมีระบบการแผ่กระจายอยู่ใกล้กับผิวดินมาก จึงควรเลี่ยงมาใช้การถากหรือถางวัชพืช ใช้วิธีการถอนจะดีที่สุด หากจะปลูกพืชแซมในระหว่างแถวกล้วย  หรือพืชคลุมดินควรเป็นพืชตระกูลถั่วเช่น ถั่วเขียว  นอกจากจะช่วยลดปัญหาเรื่องวัชพืชแล้วก็ยังเป็นการบำรุงดินอีกทางหนึ่งด้วย
วันนี้ประเทศไทยขาดแคลนกล้วยน้ำว้าต้องนำเข้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฉะนั้นเรื่องตลาดจึงไม่ต้องกังวล.

ขั้นตอนการติดต่อขอใช้ไฟฟ้า

ขั้นตอนการติดต่อขอใช้ไฟฟ้า

สถานที่ติดต่อขอใช้ไฟฟ้า

ติดต่อขอแบบฟอร์มคำร้องขอใช้ไฟฟ้าที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทุกแห่ง กรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้องแล้วยื่นแบบฟอร์มที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ในท้องที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า

สถานที่ที่ขอใช้ไฟฟ้า

ต้องมีบ้านเลขที่และหรือมีสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอใช้ไฟฟ้ามาแสดง หลักฐานที่ต้องนำมาแสดง
  • 1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
  • 2. สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอใช้ไฟฟ้า
  • 3. ในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารเอง ถ้าขอติดตั้งมิเตอร์เกินกว่า 30 แอมป์ 1 เฟส และ 3 เฟส จะต้องส่งแผนผังการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดมาตราส่วนไม่เกิน 1 : 100 รวม 2 ชุด เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบแผนผังการเดินสายนี้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะจ้างการ ไฟฟ้าฯจัดทำให้ก็ได้
  • 4. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าอาจมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้ โดยทำหนังมือมอบอำนาจซึ่งมีผู้ลงนามเป็นพยาน 2 คน และปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจต้องนำหลักฐานตามข้อ 1-3 ของผู้รับมอบอำนาจได้แสดงพร้อมหลักฐานตามข้อ 1 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย

ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้า

  • 1. เมื่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้รับคำร้องและมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อย แล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการเดินวายภายในอาคาร
  • 2. เมื่อการไฟฟ้าฯ ได้รับคำร้องและมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นเรียบร้อยแล้ว การไฟฟ้าฯ จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบการเดินสายภายในอาคาร
  • 3. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้ายังไม่ได้ติดตั้งสายภายในอาคาร เมื่อติดตั้งสายภายในอาคารเรียบร้อยแล้ว ขอให้แจ้งการไฟฟ้าฯ ทราบอีกครั้ง เพื่อดำเนินการตรวจสอบให้ต่อไป
  • 4. เมื่อตรวจสอบถูกต้องเรียบร้อยแล้ว โปรดชำระเงินค่าธรรมเนียมที่การไฟฟ้าฯ ที่ท่านขอใช้ไฟฟ้าและโปรดรับใบเสร็จรับเงินจากเจ้าหน้าที่เก็บไว้เป็นหลัก ฐานต่อไปด้วย

ค่าธรรมเนียมการขอใช้ไฟฟ้า

ในการขอใช้ไฟฟ้า ผู้ขอใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้กำหนดอัตราไว้ตามชนิดและขนาดของมิเตอร์ที่ขอติดตั้งโดยสอบถามรายละเอียด ที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ได้ทุกแห่ง ดังนี้
  • 1. ค่าธรรมเนียมการต่อไฟฟ้า
  • 2. ค่าตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร
  • 3. ค่าส่วนเฉลี่ยการใช้พลังงานไฟฟ้า
  • 4. เงินประกันการใช้ไฟฟ้า
  • 5. ค่าอุปกรณ์ไฟฟ้าหลังมิเตอร์ (ถ้ามี)

การชำระค่าไฟฟ้า

  • 1. การชำระค่าไฟฟ้า ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระค่าไฟฟ้าเมื่อพนักงานเก็บเงินไปเรียกเก็บจากท่าน ถ้าไม่ได้รับชำระ พนักงานเก็บเงินจะมอบใบเตือนให้ผู้ใช้ไฟฟ้านำไปชำระที่สำนักงานการไฟฟ้าฯ ในเขตที่ท่านอยู่ ถ้าครบกำหนดในใบเตือนแล้วยังมิได้ชำระเงิน การไฟฟ้าฯ จะงดจ่ายไฟฟ้าเป็นการชั่วคราว
  • 2. ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้ามีความประสงค์จะให้การไฟฟ้าฯ เก็บเงินค่าไฟฟ้าประจำเดือน ณ สถานที่อื่นที่สะดวกต่อการชำระเงินควรปฏิบัติ ดังนี้
    • 1.1 แจ้งทาง โทรศัพท์ไปที่การไฟฟ้าฯ
    • 1.2 ติดต่อด้วยตนเองที่การไฟฟ้าฯ
    • 1.3 ทำหนังสือแจ้งถึงผู้จัดการการไฟฟ้าฯ
อนึ่ง การไฟฟ้าฯ ได้เปิดบริการชำระค่าไฟฟ้าโดยวิธีหักบัญชีเงินฝากธนาคาร ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องเสียค่าบริการแต่อย่างใด ขอให้สอบถามระเบียบการได้จากสำนักงานการไฟฟ้าฯ ทุกแห่ง

การโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า

การโอนชื่ออาจมีได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  • 1. มีการซื้อขายบ้านที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้านั้น
  • 2. ผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย
  • 3. อื่นๆ เช่น การโอนระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่า หรือผู้เช่ากับผู้เช่าช่วง เป็นต้น การโอนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า คู่กรณีต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มาแสดงด้วย คือ
    • 3.1 บัตรประจำตัวของผู้โอนและผู้รับโอน (ยกเว้นตามข้อ 2 ไม่ต้องแสดงบัตรประจำตัวของผู้โอน)
    • 3.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่ติดตั้งการใช้ไฟฟ้าของผู้รับโอน
    • 3.3 สำเนาใบมรณบัตรของผู้ใช้ไฟฟ้าเดิม (ใช้สำหรับกรณีผู้ขอใช้ไฟฟ้าเดิมถึงแก่ความตาย)
    • 3.4 สำเนาสัญญาซื้อขาย (ใช้สำหรับกรณีที่มีการซื้อขายบ้าน)
    • 3.5 ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้ายของผู้โอน
    • 3.6 ใบเสร็จรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
    • 3.7 หลักฐานอื่นๆ ที่จำเป็น

การขอยกเลิกใช้ไฟฟ้า

หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงเพื่อขอรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืน
  • 1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
  • 2. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  • 3. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
ผู้ใช้ไฟฟ้าอาจมอบให้ผู้อื่นไปทำการแทนได้โดยทำหนังสือมอบอำนาจซึ่งมีผู้ลง นามเป็นพยาน 2 คน และปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ผู้รับมอบอำนาจไปแสดงพร้อมหลักฐานตามข้อ 1 – 3 ของผู้รับมอบอำนาจเองด้วย เมือท่านนำหลักฐานดังกล่าวไปแสดงต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องที่ของท่านและเขียนคำร้อง ขอเลิกใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฯ จะตรวจสอบหลักฐานว่าท่านยังเป็นหนี้ค่าไฟฟ้า และมีค่าภาระผูกพันอื่นๆ อยู่อีกหรือไม่แล้วจึงจะคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าให้แก่ท่าน

การงดจ่ายไฟฟ้า

เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าปฏิบัติผิดกฎระเบียบข้อบังคับของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฯ จะไม่จ่ายหรืองดจ่ายไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าในกรณีต่อไปนี้
  • 1. การเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในหรือภายนอก ยังไม่เรียบร้อยถูกต้องตามมาตรฐาน
  • 2. ไม่ชำระเงินตามกำหนดในใบเตือน
  • 3. ยินยอมให้ผู้อื่นต่อพ่วงไฟฟ้าไปใช้สถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในคำร้องของใช้ไฟฟ้า
  • 4. การละเมิดการใช้ไฟฟ้าหรือกระทำการใดๆ ให้การไฟฟ้าฯ ได้รับความเสียหาย และไม่ยินยอมชำระค่าเบี้ยปรับและค่าเสียหายตามที่การไฟฟ้าฯ ได้ขอเรียกเก็บ
  • 5. การกระทำอันอาจจะทำให้เกิดเหตุขัดข้องหรืออาจเกิดอันตรายหรือการใช้ไฟฟ้าที่รบกวน
ผู้ใช้ไฟฟ้ารายอื่น ในกรณีที่มีการงดจ่ายไฟฟ้า การไฟฟ้าฯ จะจ่ายไฟฟ้าให้ใหม่ ต่อเมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้ชำระเงินส่วนที่ค้างหรือชำระค่าเสียหายให้แก่การ ไฟฟ้าฯ แล้ว และต้องชำระค่าธรรมเนียม รวมทั้งค่าบริการต่างๆ ตามอัตราที่การไฟฟ้าฯ กำหนดไว้ การละเมิดการใช้ไฟฟ้า เช่นการต่อไฟฟ้าตรงโดยไม่ผ่านมิเตอร์ ตลอดจนการกระทำใดๆ ที่ทำให้มิเตอร์วัดค่าผิดไปจากที่ใช้ไฟฟ้าจริง ฯลฯ จะมีความผิดต้องถูกดำเนินคดีทางแพ่งและทางอาญา ข้อหาลักทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ มีโทษทั้งปรับและจำคุก 

การไฟฟ้าฯ ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหาย ซึ่งเกิดจากไฟฟ้าขัดข้องหรือต้องหยุดจ่ายไฟฟ้า เพราะความจำเป็นหรืองดจ่ายไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น

การแจ้งกระแสไฟฟ้าขัดข้อง

เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าเกิดปัญหาในเรื่องระบบไฟฟ้าขัดข้องภายในหรือภายนอกอาคารของ ท่าน ซึ่งท่านไม่สามารถดำเนินการแก้ไขเองได้ กรุณาติดต่อได้ที่การไฟฟ้าฯ ในท้องที่ที่ท่านอยู่ ซึ่งจะมีพนักงานช่างของการไฟฟ้าฯ ประจำอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง

การตรวจสอบมิเตอร์

การไฟฟ้าฯ จะอ่านหน่วยมิเตอร์ตามระเบียบของการไฟฟ้าฯ เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้ารายใดที่สงสัยว่ามิเตอร์คลาดเคลื่อนมีสิทธิที่จะร้องขอการ ไฟฟ้าฯ ทำการทดสอบมิเตอร์ดังกล่าวได้ โดยการไฟฟ้าฯ จะทดสอบติดตั้งมิเตอร์เปรียบเทียบเป็นเวลา 24 ชั่วโมง หรือนำมิเตอร์ไปตรวจสอบที่กองมิเตอร์และจะถือผลการทดสอบมิเตอร์ที่คลาด เคลื่อนไม่เกิน ?2.5% ถือว่ามิเตอร์นั้นถูกต้อง การไฟฟ้าฯ 

จะคิดค่าใช้จ่ายในการทดสอบตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถ้าผลการทดสอบคลาดเคลื่อนแสดงค่าเกิน ?2.5% การไฟฟ้าฯ จะเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ และไม่คิดค่าทดสอบมิเตอร์ กับทั้งจะปรับปรุงเพิ่มหรือลดหนี้สินส่วนที่คลาดเคลื่อนกับไฟ้าในเดือนถัดไป

การย้ายมิเตอร์

ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้ไปแสดงต่อพนักงานไฟฟ้าในท้องที่จะขอย้าย คือ
  • 1. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  • 2. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
  • 3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
  • 4. ทะเบียนบ้านที่จะย้ายมิเตอร์ไป

การเพิ่มขนาดมิเตอร์

ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิมต้องไปแจ้งการไฟฟ้าฯ เพื่อมาตรวจสอบเพิ่มขนาดมิเตอร์โดยผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องนำหลักฐานไปแสดงเมื่อจะ ขอเพิ่มขนาดของมิเตอร์ ดังนี้
  • 1. ใบเสร็จค่าประกันการใช้ไฟฟ้า
  • 2. ใบเสร็จค่าไฟฟ้าครั้งสุดท้าย
  • 3. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ
ที่มา การไฟฟ้าภูมิภาค